แนวทางป้องกันและควบคุมโรค


โคนมสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสบาย (comfort zone) ในช่วงอุณหภูมิ 4-25 ◦C ซึ่งอุณหภูมิหน้าร้อน เฉลี่ยสูงสุดปี 2563 >36.1 ◦C ปัญหาที่พบในหน้าร้อน โคมีการหายใจสูงกว่า 80 ครั้ง/นาที หรือหอบ เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้เมื่อเกิดสภาพเครียดจากความร้อน โคกินอาหารน้อยลง กินน้ำเพิ่มขึ้น ได้รับโภชนะ โดยเฉพาะพลังงานไม่เพียงพอเนื่องจากโคต้องใช้พลังงานในการลดอุณหภูมิของร่างกายลง สูญเสียสมดุล กรด-ด่างในร่างกาย ทำให้เกิดกระเพาะหมักมีสภาพเป็นกรดและมีปัญหาเจ็บกีบ กีบอักเสบตามมา การเคี้ยวเอื้องน้อยลง ค่า pH ในกระเพาะหมักลดลง มีการสูญเสียน้ำลายที่เป็นตัวปรับสภาพ pH ในกระเพาะหมัก ผลผลิตและคุณภาพน้ำนมลดลง มากกว่า 20 % การเป็นสัดน้อยลงและสั้น ผสมติดยาก อัตราการผสมติดลดลง ปัญหาการแท้งตายของตัวอ่อนระยะแรกเพิ่มขึ้น หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม แม่โคจะหาที่นอนที่เย็น ซึ่งมักชื้นแฉะ จึงอาจเกิดปัญหาเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการเพิ่มขึ้น ความร้อนในโคนมเกิดจากอะไรบ้าง ความร้อนเนื่องจากกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ในร่างกาย ความร้อนจากการให้ผลผลิต ทุก 0.45 กิโลกรัมของน้ำนมที่แม่โคผลิตได้จะมีการผลิตความร้อนภายในร่างกายถึง […]

สัตวแพทย์ชำนาญการ บริการวิชาการสัตว์ปีก ช่วงที่อุณหภูมิในสภาพแวดล้อมสูงเรามักจะพบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงด้วยเช่นเดียวกันซึ่งพบได้เป็นปกติในช่วงฤดูร้อน ความเครียดจากความร้อนสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อฝูงไก่ไข่โดยทำให้ไก่กินอาหารได้ลดลง ผลผลิตไข่ น้ำหนักไข่ คุณภาพเปลือกไข่ และความสูงไข่ขาวลดลง พบการตายทั้งจากสภาพอากาศร้อนและการจิกกันมากขึ้น ไก่ติดเชื้อหรือป่วยได้ง่ายขึ้นจากสภาวะกดภูมิคุ้มกันหากเครียดเนื่องจากกระทบสภาพอากาศร้อนเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับอุณหภูมิสูงสุดที่ไก่ได้รับ ช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงนั้นดำเนินไป อัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแต่ละวัน รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เมื่ออุณหภูมิสภาพแวดล้อมสูงไก่จะเริ่มมีการอ้าปากหอบหายใจที่เร็วขึ้นเพื่อเพิ่มการระเหยของน้ำจากทางเดินหายใจเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย แต่หากการหอบของไก่ไม่สามารถทำให้อุณหภูมิร่างกายคงที่ได้ไก่จะแสดงอาการหมดแรงและบางครั้งอาจหมดสติและตายลงได้เลยทีเดียว ซึ่งฝูงไก่ที่ไม่เคยชินกับอุณหภูมิสูง ๆ มาก่อนจะเกิดการสูญเสียของผลผลิตและตายมากที่สุด ดังนั้นการลดความเสียหายจากสภาพอากาศร้อนจำเป็นอย่างมากที่จะ […]

“ฤดูร้อน” เป็นช่วงที่สร้างความไม่สบายใจให้กับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมาก เนื่องจากมักเกิดความเสียหายขึ้นในกับสัตว์น้ำได้ง่ายและรุนแรง ด้วยปัจจัยจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงกลางวัน แต่อาจมีพายุฝนในช่วงบ่าย ขาดแคลนน้ำเปลี่ยนถ่าย น้ำในแม่น้ำไม่มีการไหลเวียน และโรคระบาดต่างๆ ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าในฤดูร้อนนั้นสร้างผลกระทบกับสัตว์น้ำของเราอย่างไรบ้าง ผลกระทบของฤดูร้อนต่อสัตว์น้ำ อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น โดยทั่วไปสัตว์น้ำในเขตร้อนจะมีช่วงอุณหภูมิที่พอเหมาะต่อการดำรงค์ชีวิตอยู่ในช่วง 28-30oC แต่ในช่วงฤดูร้อนที่มีแดดจัด ช่วงบ่ายอุณภูมิของน้ำอาจจะสูงได้มากกว่า 35 oC เมื่ออุณหภูมิสูงเกินช่วงที่เหมาะสมสัตว์น้ำจะเกิดความเครียดขึ้น ทำให้ความอยากอาหารจะเปลี่ยนไป กล่าวคือ หากอุณหภูมิของน้ำอยู่ในช่วง 31-33oC สัตว์น้ำจะอยากกินอาหารมากขึ้นจากปกติ แต่การอยากกินที่สูงขึ้นไม่สัมพันธ์กับความสามารถการย่อยและการดูดซึมของตัวสัตว์น้ำเอง จะสังเกตุได้ว่าเมื่อสัตว์น้ำกินอาหารเพิ่มขึ้น แต่สีของน้ำในบ่อจะเขียวเข้มขึ้นหรือของเสียในน้ำจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลเสียกับตัวสัตว์น้ำเอง แต่หากอุณหภูมิของน้ำสูงจนมา […]

การใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าในการเลี้ยงสุกรเป็นสิ่ งที่ผู้เลี้ยงสุกรสามารถ ปฎิบัติได้ การลดปริมาณการใช้น้ำในการดำเนินงานได้ โดยเฉพาะฟาร์มขนาด ใหญ่ต้องใช้น้ำปริมาณมากในการทำความสะอาดโรงเรือน อุปกรณ์ ฉีดล้างของเสีย แนวทางการจัดการน้ำที่ดีเพื่อสามารถลดปริมาณการใช้น้ำและมีน้ำใช้ในฤดู ขาดแคลนสามารถทำได้ดังนี้ ซ่อมท่อน้ำรั่วทันที น้ำที่รั่ว 90 หยดต่อนาทีจะทำให้เสียน้ำ 29 ลิตรต่อวัน แช่คอกก่อนการฉีดล้าง การแช่คอกก่อนจะช่วยคลายสิ่งสกปรกแล้วตามด้วย การฉีดล้างจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำลงและลดเวลาในการล้างคอก 40% เลือกอุปกรณ์ให้น้ำที่ลดการสูญเสีย การให้ดื่มน้ำจากราง อาหารจะสูญเสียน้ำมากกว่าดื่มน้ำจากจุ๊บน้ำ การใช้จุ๊บน้ำแบบกัดจะลดปริมาณการใช้น้ำมากกว่าจุ๊บน้ำแบบธรรมดา 40% การติดตั้งจุ๊บน้ำที่เหมาะสม ควรติดตั้งที่ความสูง 10 ถึง 15 เซนติเมตร เหนือกลางหลังของสุกร หากติดตั้งต่ำเกิน ทำให้มีน้ำถึง 60% ไหลออกทางด้านอื่นของปากสุกร และควรปรับอัตราการไหล ของน้ำตามประเภทของสุกร ปรับสูตรอาหารให้เหมาะสม อาหารที่มีความเข้มข้นของ โปรตีนสูงเกิน ร่างกายต้องใช้น้ำในปริมาณที่สูงในการขับถ่าย ไนโตรเจนส่วนเกิน การจัดก […]

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทุกสายพันธุ์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกมีการใช้น้ำทั้งในการอุปโภคและบริโภคของสัตว์ ในร่างกายของสัตว์ปีกมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 70% ส่วนในไข่ไก่ก็มีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงประมาณ 65% ปริมาณการกินน้ำของไก่ไข่เฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 – 2.5 เท่าของน้ำหนักอาหารที่ไก่ไข่กินต่อวันในสภาพอากาศปกติ แต่ปริมาณการกินน้ำของไก่ไข่อาจเพิ่มเป็น 4 เท่าในสภาพอากาศร้อน การเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันจะเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนระบบปิดหรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า “โรงเรือนอีแวป” ควบคุมอุณหภูมิในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยระบบการระเหยของน้ำจากแผ่นทำความเย็น (cooling pad)ร่วมกับการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม (tunnel ventilation) ทำให้มีปริมาณการใช้น้ำในแต่ละวันเป็นปริมาณมาก น้ำมีความสำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นอย่างมากแต่ในทางตรงกันข้ามการจัดการระบบน้ำในฟาร์มมักถูกมองข้ามหรือเอาใจใส่ในรายละเอียดน้อย จนบ่อยครั้งเกิดผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและปริมาณลดต่ำลงนอกจากควรมีปริมาณเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคในฟาร์มแล้วควรมีการตรวจคุณภาพน้ำเพื่อให้ทราบว่าน้ำที่ใช้มีคุ […]

ในการเลี้ยงโคนมโดยเฉพาะอย่างในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย น้ำมีบทบาทสำคัญในการผลิตน้ำนมเป็นอย่างมาก โดยนมประกอบด้วยน้ำถึง 85 เปอร์เซ็นต์จึงไม่น่าแปลกใจที่การดื่มน้ำของวัวจะมีผลอย่างมากต่อการผลิตน้ำนมของโค เมื่อคุณจัดหาน้ำที่เหมาะสมวัวจะดื่มมากขึ้นและผลิตนมได้มากขึ้น นอกจากนี้ยัง ช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกาย, ควบคุมแรงดันออสโมติคในกระแสเลือด, ผลิตน้ำลายซึ่งช่วยในกระบวนการเคี้ยวเอื้อง,ขนส่งสารอาหาร ฮอร์โมน สารเคมีต่างๆในร่างกาย และยังช่วยควบคุมสมดุลอุณหภูมิในร่างกายโคโดยการระเหยของน้ำผ่านผิวหนังและจากการหายใจ โดยทั่วไปโคนมจะดื่มในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น (7-12 ครั้งต่อวัน) โดยเฉพาะหลังการกินอาหารและหลังรีดนม ความต้องการน้ำของโคนม โคในช่วงให้นมต้องการน้ำดื่มต่อวันเฉลี่ยวันละ 60-90 ลิตร/ตัว/วัน เพื่อช่วยในการย่อยและดูดซึม โดยโคนมต้องการน้ำอย่างน้อย 3 ลิตรเพื่อผลิตน้ำนม 1 ลิตร นั่นหมายความว่า วัว 1 ตัว ที่ให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย 13 กิโลกรัมต้องการน้ำเพื่อใช้ผลิตน้ำนมมากกว่า 45 ลิตร/ตัว/วัน และขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่ร้อนและน้ำหนักตัวของโค ความต้องการน้ำอาจสูงขึ้นได้ โคนมมักดื่มน้ำเร็วถึง 20 ลิตรต […]

แมลงภายในฟาร์มโคนมสามารถก่อให้เกิดการแพร่กระจายของโรคและสร้างการระคายเคืองให้แก่โค โดยการดูดเลือดหรือเพียงแต่สร้างความราคาญก็สามารทำให้น้ำนมและน้ำหนักลดตามมาได้ สิ่งแวดล้อม ต้องมีการจัดการและสุขาภิบาลที่เหมาะสมของมูลสัตว์ อาหารสัตว์และโรงเรือน วงจรชีวิตแมลง ต้องรู้จักชนิดและเข้าใจวงจรชีวิตของแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหาภายในฟาร์ม สารเคมีที่ใช้ ต้องเข้าใจและรู้จักสารเคมีที่จะเลือกมาใช้กำจัดและควบคุมแมลงอย่างถูกต้อง TIP ระบุชนิดของแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหาให้ได้ ! แมลงแต่ละชนิดย่อมมีเทคนิคและวิธีกำรจัดกำรควบคุมที่แตกต่ำงกันเพื่อให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิภำพสูงสุด หาหนอนหรือตัวอ่อนให้เจอ มองหาบริเวณการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแมลง เช่น ขอบบ่อหลุมหมัก แหล่งอาหารเหลือ ที่กักเก็บมูลสัตว์แหล่งน้ำเสีย ใต้รางอาหาร ฟางหรือหญ้าแห่งเปียกชื้นเน่าเสีย หากพบแล้วให้ทำลายตัวอ่อนและทำบริเวณนั้นให้แห้งหรือกำจัดทิ้ง จัดการของเสียและสารอินทรีย์วัตถุ ทำความสะอาด ทำให้แห้ง ทำลำย บำบัดนำเสียอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารและเพาะพันธุ์แมลง