Knowledge ความรู้

ดูทั้งหมด
6 SOLUTION รับมือวิกฤตฟาร์มสุกร

แนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างลูกค้าและเครือเบทาโกรเพื่อเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉินจากปัญหาโรคระบาด ลดผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดและฟื้นฟูธุรกิจการผลิตสุกรอย่างยั่งยืน

โรคสุกรที่มักพบในหน้าฝน

โรคปากและเท้าเปื่อย ติดต่อได้ในสัตว์กีบคู่ทุกชนิด เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ติดเชื้อจากมูล น้าเชื้อ น้าลาย ยานพาหนะ ติดต่อทางอากาศ มีตุ่มพองที่จมูก ปาก ลิ้น เหงือก คอหอย เพดานอ่อน หัวนม ไรกีบ    โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Actinobacillosis :APP) สุกรหายใจด้วยช่องท้อง เลือดออกปาก/จมูก มีฟองเลือดในหลอดลม ปอดอักเสบมีเลือดปน มีเนื้อตายคล้ายก้อนฝี มีหนอง ลดปัจจัยโน้มนา >> ลดการเลี้ยงหนาแน่น โรงเรือนระบายอากาศได้ดี ไม่สะสมแก๊ส    อาการท้องเสียและบวมน้า จากการติดเชื้ออีโคไล (E.coli) ติดจากการกินน้า อาหาร ที่ปนเปื้อนเชื้อ สุกรดูดนมและสุกรหลังหย่านม ท้องเสีย อุจจาระเหลวสีเหลืองน้าตาล โรคบวมน้าพบในสุกรอนุบาล สุกรจะตายเฉียบพลัน สุกรเดินเซ ล้ม พบบวมน้าที่หนังตา จมูก ใต้คาง อก ลาไส้ใหญ่

การจัดการฟาร์มปลาเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน

ในช่วงฤดูฝนของทุกปี ฝนตกน้ำแดง น้ำป่าไหลหลาก มักทำให้ปลากระชังและปลาในบ่อเลี้ยงเสียหาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากในฤดูฝน มีผลโดยตรงต่อคุณภาพน้ำหลายอย่าง  ที่สำคัญปลาซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิในร่างกายปลา สามารถปรับตัวเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำได้ แต่การปรับตัวฉับพลันต้องใช้พลังงานสูง ทำให้ปลาเครียดจัด  อ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคลดลง จึงติดเชื้อโรคได้ง่าย สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากในฤดูฝน เช่น น้ำฝนทำให้ อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่างและความขุ่นของน้ำเปลี่ยนแปลง / ผลคือปลาเครียด ภูมิต้านทานโรคลดลง นํ้าในบ่อมีการแบ่งชั้นของอุณหภูมิ น้ำฝนทำให้อุณหภูมิผิวน้ำลดลง  จึงหมุนแทนที่น้ำก้นบ่อที่อุณหภูมิสูงกว่า / ทำให้น้ำก้นบ่อที่ออกซิเจนต่ำ มีแก็ซพิษสูงกระจายไปทั่วบ่อ วันที่ฟ้าปิดยาวนาน กระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างออกซิเจนลดลง น้ำฝนที่ไหลชะล้างตะกอนหน้าดิน สารอินทรีย์ สารเคมี ทำให้คุณภาพแย่ลง เชื้อโรคที่เกิดช่วงหน้าฝน มักเป็นเชื้อโรคที่ฉวยโอกาส ในขณะที่ปลาอ่อนแอ โรค Aeromonas / เกล็ดหลุด เกล็ดแดง  เกล็ดตั้ง  ตกเลือด  แผลหลุม ครีบกร่อน  ท้องบวม ตับม้ามไต ลำไส้อักเสบ มี […]

3 ข้อสำคัญในการจัดการโคนมหน้าฝน

สภาพอากาศในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย จะมีปริมาณน้ำและความชื้นสูงแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค ซึ่งส่งผลให้ที่อยู่อาศัยของโคมีความชื้นแฉะสูง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะแก่การแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเต้านมอักเสบ และยังต้องให้ความสำคัญกับแหล่งอาหารหยาบสำหรับโคให้เหมาะสมด้วย เกษตรกรจึงต้องให้ความใสใจในช่วงเปลี่ยนเข้าสู่หน้าฝนกับแม่โคในฟาร์มเพื่อให้แม่โคมีสุขภาพที่ดีและให้ผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง การลดจำนวนเม็ดเลือดขาวหรือโซมาติกเซลล์ในน้ำนม หลักสุขศาสตร์การรีดนม สะอาด ขั้นตอนการรีดที่ถูกต้อง การล้างเต้า เช็ดเต้า จุ่มเต้าก่อนรีด การรีดนมต้นสาย การตรวจน้ำนมด้วยน้ำยาCMT การจุ่มเต้าหลังรีด พบปัญหาเต้านมอักเสบต้องรีบรักษา การจัดการอาหารสำหรับโค คุณภาพอาหารหยาบช่วงหน้าฝน หญ้าอ่อน โคกินมากทำให้ท้องอืด สารพิษจากเชื้อรา เช่นในข้าวโพด หญ้าหมัก โดยเฉพาะ อะฟลาทอกซิน ทำลายภูมิคุ้มกัน ทำให้ความต้านทานโรคต่ำลง เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย และยังปนเปื้อนในน้ำนมได้ด้วย โรงเรือนและสิ่งแวดล้อม คอกต้องแห้ง สะอาด คอกระบายน้ำได้ดี มีพื้นที่เพียงพอให้โคพักผ่อน มีน้ำสะอาดให้โคดื่มอย่างเพียงพอ  

การจัดการภายในฟาร์มสุกรช่วงหน้าฝน??

สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นช่วงหน้าฝน ก่อนฝนตก :  อากาศร้อนชื้น  สุกรหอบ หายใจถี่  เล่นน้ำและอุจจาระ หล้งฝนตก  :  อากาศหนาวเย็น  ความชื้นสูง  สุกรและคอกเปียกสกปรก น้ำบ่อ และบ่อน้ำบาดาล :  ปนเปื้อนเชื้อ   ถูกฝนชะล้างและซืมลงไป สิ่งต่างๆที่ตามมา แม่สุกรอุ้มท้องช่วงต้น  :   ตัวอ่อนตายในมดลูก   ลูกแรกคลอดไม่ดก แม่สุกรอุ้มท้องช่วงท้าย  :   เครียด  ป่วย  เต้านมอักเสบร้อนบวมแดง แม่สุกรก่อน/หลังคลอด  และลูกสุกร  :   ป่วย  นมแห้ง  ลูกสุกรท้องเสีย สุกรอนุบาล  :    ท้องเสีย และโรคระบบทางเดินหายใจแทรกซ้อน สุกรขุน  :    โรคระบบทางเดินหายใจแทรกซ้อน การจัดการต่างๆในช่วงหน้าฝน แม่สุกรอุ้มท้องช่วงต้นและช่วงท้าย  :   เปิดพัดลม  เร่งความเร็วพัดลม อาบน้ำให้แม่สุกรเย็นสบาย  ป้อนน้ำกิน  ช่วยขับถ่าย  ลดท้องผูก แม่สุกรก่อน/หลังคลอด  :   รักษาให้ไว  ป้องกันนมแห้ง เก็บอุจจาระให้ถี่   ลดปัญหาคอกและตัวสุกรสกปรก ลูกสุกร  :   เตรียมกล่องกก  ไฟกก ให้ความอบอุ่น  ปั้มยากันบิดซ้ำ 2 ครั้ง อนุบาล-ขุน  :   ปิดม่านกันฝนสาดและละออง  สุกรลงใหม่  1-2 สัปดาห์ ท้องเสีย  ละลายยาโคลิสตินใส่ถาดน้ำหรือถังน้ำ   7-10  วัน ไอ  หายใจกระแทก  ใ […]

test

tttttt

<a href="google.com">Test html</a>

<a href=”google.com”>Test html</a>

คลิปวิดีโอ

ดูทั้งหมด

แนวทางป้องกันและควบคุมโรค

ดูทั้งหมด
การป้องกันภาวะความเครียด เนื่องจากความร้อน (Heat Stress)

โคนมสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสบาย (comfort zone) ในช่วงอุณหภูมิ 4-25 ◦C ซึ่งอุณหภูมิหน้าร้อน เฉลี่ยสูงสุดปี 2563 >36.1 ◦C ปัญหาที่พบในหน้าร้อน โคมีการหายใจสูงกว่า 80 ครั้ง/นาที หรือหอบ เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้เมื่อเกิดสภาพเครียดจากความร้อน โคกินอาหารน้อยลง กินน้ำเพิ่มขึ้น ได้รับโภชนะ โดยเฉพาะพลังงานไม่เพียงพอเนื่องจากโคต้องใช้พลังงานในการลดอุณหภูมิของร่างกายลง สูญเสียสมดุล กรด-ด่างในร่างกาย ทำให้เกิดกระเพาะหมักมีสภาพเป็นกรดและมีปัญหาเจ็บกีบ กีบอักเสบตามมา การเคี้ยวเอื้องน้อยลง ค่า pH ในกระเพาะหมักลดลง มีการสูญเสียน้ำลายที่เป็นตัวปรับสภาพ pH ในกระเพาะหมัก ผลผลิตและคุณภาพน้ำนมลดลง มากกว่า 20 % การเป็นสัดน้อยลงและสั้น ผสมติดยาก อัตราการผสมติดลดลง ปัญหาการแท้งตายของตัวอ่อนระยะแรกเพิ่มขึ้น หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม แม่โคจะหาที่นอนที่เย็น ซึ่งมักชื้นแฉะ จึงอาจเกิดปัญหาเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการเพิ่มขึ้น ความร้อนในโคนมเกิดจากอะไรบ้าง ความร้อนเนื่องจากกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ในร่างกาย ความร้อนจากการให้ผลผลิต ทุก 0.45 กิโลกรัมของน้ำนมที่แม่โคผลิตได้จะมีการผลิตความร้อนภายในร่างกายถึง […]

แนวทางในการลดปัญหาจากสภาพอากาศร้อนในไก่ไข่

สัตวแพทย์ชำนาญการ บริการวิชาการสัตว์ปีก ช่วงที่อุณหภูมิในสภาพแวดล้อมสูงเรามักจะพบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงด้วยเช่นเดียวกันซึ่งพบได้เป็นปกติในช่วงฤดูร้อน ความเครียดจากความร้อนสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อฝูงไก่ไข่โดยทำให้ไก่กินอาหารได้ลดลง ผลผลิตไข่ น้ำหนักไข่ คุณภาพเปลือกไข่ และความสูงไข่ขาวลดลง พบการตายทั้งจากสภาพอากาศร้อนและการจิกกันมากขึ้น ไก่ติดเชื้อหรือป่วยได้ง่ายขึ้นจากสภาวะกดภูมิคุ้มกันหากเครียดเนื่องจากกระทบสภาพอากาศร้อนเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับอุณหภูมิสูงสุดที่ไก่ได้รับ ช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงนั้นดำเนินไป อัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแต่ละวัน รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เมื่ออุณหภูมิสภาพแวดล้อมสูงไก่จะเริ่มมีการอ้าปากหอบหายใจที่เร็วขึ้นเพื่อเพิ่มการระเหยของน้ำจากทางเดินหายใจเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย แต่หากการหอบของไก่ไม่สามารถทำให้อุณหภูมิร่างกายคงที่ได้ไก่จะแสดงอาการหมดแรงและบางครั้งอาจหมดสติและตายลงได้เลยทีเดียว ซึ่งฝูงไก่ที่ไม่เคยชินกับอุณหภูมิสูง ๆ มาก่อนจะเกิดการสูญเสียของผลผลิตและตายมากที่สุด ดังนั้นการลดความเสียหายจากสภาพอากาศร้อนจำเป็นอย่างมากที่จะ […]

ปัจจัยความเครียดที่มีผลต่อสัตว์น้ำในฤดูร้อน

“ฤดูร้อน” เป็นช่วงที่สร้างความไม่สบายใจให้กับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมาก เนื่องจากมักเกิดความเสียหายขึ้นในกับสัตว์น้ำได้ง่ายและรุนแรง ด้วยปัจจัยจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงกลางวัน แต่อาจมีพายุฝนในช่วงบ่าย ขาดแคลนน้ำเปลี่ยนถ่าย น้ำในแม่น้ำไม่มีการไหลเวียน และโรคระบาดต่างๆ ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าในฤดูร้อนนั้นสร้างผลกระทบกับสัตว์น้ำของเราอย่างไรบ้าง ผลกระทบของฤดูร้อนต่อสัตว์น้ำ อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น โดยทั่วไปสัตว์น้ำในเขตร้อนจะมีช่วงอุณหภูมิที่พอเหมาะต่อการดำรงค์ชีวิตอยู่ในช่วง 28-30oC แต่ในช่วงฤดูร้อนที่มีแดดจัด ช่วงบ่ายอุณภูมิของน้ำอาจจะสูงได้มากกว่า 35 oC เมื่ออุณหภูมิสูงเกินช่วงที่เหมาะสมสัตว์น้ำจะเกิดความเครียดขึ้น ทำให้ความอยากอาหารจะเปลี่ยนไป กล่าวคือ หากอุณหภูมิของน้ำอยู่ในช่วง 31-33oC สัตว์น้ำจะอยากกินอาหารมากขึ้นจากปกติ แต่การอยากกินที่สูงขึ้นไม่สัมพันธ์กับความสามารถการย่อยและการดูดซึมของตัวสัตว์น้ำเอง จะสังเกตุได้ว่าเมื่อสัตว์น้ำกินอาหารเพิ่มขึ้น แต่สีของน้ำในบ่อจะเขียวเข้มขึ้นหรือของเสียในน้ำจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลเสียกับตัวสัตว์น้ำเอง แต่หากอุณหภูมิของน้ำสูงจนมา […]

แนวทางการประหยัดน้ำในฟาร์มสุกร

การใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าในการเลี้ยงสุกรเป็นสิ่ งที่ผู้เลี้ยงสุกรสามารถ ปฎิบัติได้ การลดปริมาณการใช้น้ำในการดำเนินงานได้ โดยเฉพาะฟาร์มขนาด ใหญ่ต้องใช้น้ำปริมาณมากในการทำความสะอาดโรงเรือน อุปกรณ์ ฉีดล้างของเสีย แนวทางการจัดการน้ำที่ดีเพื่อสามารถลดปริมาณการใช้น้ำและมีน้ำใช้ในฤดู ขาดแคลนสามารถทำได้ดังนี้ ซ่อมท่อน้ำรั่วทันที น้ำที่รั่ว 90 หยดต่อนาทีจะทำให้เสียน้ำ 29 ลิตรต่อวัน แช่คอกก่อนการฉีดล้าง การแช่คอกก่อนจะช่วยคลายสิ่งสกปรกแล้วตามด้วย การฉีดล้างจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำลงและลดเวลาในการล้างคอก 40% เลือกอุปกรณ์ให้น้ำที่ลดการสูญเสีย การให้ดื่มน้ำจากราง อาหารจะสูญเสียน้ำมากกว่าดื่มน้ำจากจุ๊บน้ำ การใช้จุ๊บน้ำแบบกัดจะลดปริมาณการใช้น้ำมากกว่าจุ๊บน้ำแบบธรรมดา 40% การติดตั้งจุ๊บน้ำที่เหมาะสม ควรติดตั้งที่ความสูง 10 ถึง 15 เซนติเมตร เหนือกลางหลังของสุกร หากติดตั้งต่ำเกิน ทำให้มีน้ำถึง 60% ไหลออกทางด้านอื่นของปากสุกร และควรปรับอัตราการไหล ของน้ำตามประเภทของสุกร ปรับสูตรอาหารให้เหมาะสม อาหารที่มีความเข้มข้นของ โปรตีนสูงเกิน ร่างกายต้องใช้น้ำในปริมาณที่สูงในการขับถ่าย ไนโตรเจนส่วนเกิน การจัดก […]

การจัดการน้ำในฟาร์ม (สัตว์ปีก)

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทุกสายพันธุ์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกมีการใช้น้ำทั้งในการอุปโภคและบริโภคของสัตว์ ในร่างกายของสัตว์ปีกมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 70% ส่วนในไข่ไก่ก็มีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงประมาณ 65% ปริมาณการกินน้ำของไก่ไข่เฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 – 2.5 เท่าของน้ำหนักอาหารที่ไก่ไข่กินต่อวันในสภาพอากาศปกติ แต่ปริมาณการกินน้ำของไก่ไข่อาจเพิ่มเป็น 4 เท่าในสภาพอากาศร้อน การเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันจะเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนระบบปิดหรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า “โรงเรือนอีแวป” ควบคุมอุณหภูมิในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยระบบการระเหยของน้ำจากแผ่นทำความเย็น (cooling pad)ร่วมกับการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม (tunnel ventilation) ทำให้มีปริมาณการใช้น้ำในแต่ละวันเป็นปริมาณมาก น้ำมีความสำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นอย่างมากแต่ในทางตรงกันข้ามการจัดการระบบน้ำในฟาร์มมักถูกมองข้ามหรือเอาใจใส่ในรายละเอียดน้อย จนบ่อยครั้งเกิดผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและปริมาณลดต่ำลงนอกจากควรมีปริมาณเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคในฟาร์มแล้วควรมีการตรวจคุณภาพน้ำเพื่อให้ทราบว่าน้ำที่ใช้มีคุ […]

การจัดการน้ำในฟาร์มโคนม

ในการเลี้ยงโคนมโดยเฉพาะอย่างในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย น้ำมีบทบาทสำคัญในการผลิตน้ำนมเป็นอย่างมาก โดยนมประกอบด้วยน้ำถึง 85 เปอร์เซ็นต์จึงไม่น่าแปลกใจที่การดื่มน้ำของวัวจะมีผลอย่างมากต่อการผลิตน้ำนมของโค เมื่อคุณจัดหาน้ำที่เหมาะสมวัวจะดื่มมากขึ้นและผลิตนมได้มากขึ้น นอกจากนี้ยัง ช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกาย, ควบคุมแรงดันออสโมติคในกระแสเลือด, ผลิตน้ำลายซึ่งช่วยในกระบวนการเคี้ยวเอื้อง,ขนส่งสารอาหาร ฮอร์โมน สารเคมีต่างๆในร่างกาย และยังช่วยควบคุมสมดุลอุณหภูมิในร่างกายโคโดยการระเหยของน้ำผ่านผิวหนังและจากการหายใจ โดยทั่วไปโคนมจะดื่มในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น (7-12 ครั้งต่อวัน) โดยเฉพาะหลังการกินอาหารและหลังรีดนม ความต้องการน้ำของโคนม โคในช่วงให้นมต้องการน้ำดื่มต่อวันเฉลี่ยวันละ 60-90 ลิตร/ตัว/วัน เพื่อช่วยในการย่อยและดูดซึม โดยโคนมต้องการน้ำอย่างน้อย 3 ลิตรเพื่อผลิตน้ำนม 1 ลิตร นั่นหมายความว่า วัว 1 ตัว ที่ให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย 13 กิโลกรัมต้องการน้ำเพื่อใช้ผลิตน้ำนมมากกว่า 45 ลิตร/ตัว/วัน และขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่ร้อนและน้ำหนักตัวของโค ความต้องการน้ำอาจสูงขึ้นได้ โคนมมักดื่มน้ำเร็วถึง 20 ลิตรต […]