Articles
All Agro knowledge you can learn and study
กันยายน 1, 2021
การป้องกันภาวะความเครียด เนื่องจากความร้อน (Heat Stress)
แนวทางป้องกันและควบคุมโรคโคนมสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสบาย (comfort zone) ในช่วงอุณหภูมิ 4-25 ◦C ซึ่งอุณหภูมิหน้าร้อน เฉลี่ยสูงสุดปี 2563 >36.1 ◦C
ปัญหาที่พบในหน้าร้อน
- โคมีการหายใจสูงกว่า 80 ครั้ง/นาที หรือหอบ เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้เมื่อเกิดสภาพเครียดจากความร้อน
- โคกินอาหารน้อยลง กินน้ำเพิ่มขึ้น ได้รับโภชนะ โดยเฉพาะพลังงานไม่เพียงพอเนื่องจากโคต้องใช้พลังงานในการลดอุณหภูมิของร่างกายลง
- สูญเสียสมดุล กรด-ด่างในร่างกาย ทำให้เกิดกระเพาะหมักมีสภาพเป็นกรดและมีปัญหาเจ็บกีบ กีบอักเสบตามมา
- การเคี้ยวเอื้องน้อยลง ค่า pH ในกระเพาะหมักลดลง มีการสูญเสียน้ำลายที่เป็นตัวปรับสภาพ pH ในกระเพาะหมัก
- ผลผลิตและคุณภาพน้ำนมลดลง มากกว่า 20 %
- การเป็นสัดน้อยลงและสั้น ผสมติดยาก อัตราการผสมติดลดลง
- ปัญหาการแท้งตายของตัวอ่อนระยะแรกเพิ่มขึ้น
- หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม แม่โคจะหาที่นอนที่เย็น ซึ่งมักชื้นแฉะ จึงอาจเกิดปัญหาเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการเพิ่มขึ้น
ความร้อนในโคนมเกิดจากอะไรบ้าง
- ความร้อนเนื่องจากกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ในร่างกาย
- ความร้อนจากการให้ผลผลิต ทุก 0.45 กิโลกรัมของน้ำนมที่แม่โคผลิตได้จะมีการผลิตความร้อนภายในร่างกายถึง 10 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง
- แม่โคที่ให้น้ำนมสูง จะกินอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ เพื่อให้สารอาหารเพียงพอที่จะนำไปใช้ผลิตน้ำนม จึงเกิดความร้อนในตัวมากกว่า แม่โคที่ให้น้ำนมน้อย หรือปานกลาง
เป้าหมายการลดความเครียดจากสภาวะความร้อน
- เพิ่มอัตราการกินได้มากขึ้น ลดการสูญเสียน้ำหนักตัว โดยเฉพาะแม่โคนมคลอดใหม่ ที่ให้ผลผลิตสูงแต่การกินได้ต่ำ
- ทำให้โครีดนม สามารถให้ผลผลิตน้ำนมได้ตามตามศักยภาพ
- เพิ่มโอกาสการผสมติด การปฏิสนธิ และการฝังตัวของตัวอ่อนมีโอกาสสูงขึ้น ลดการสูญเสียตัวอ่อนในระยะต้นของการตั้งท้อง
- ลดการสูญเสียพลังงาน
การลดอุณหภูมิในตัวโค
- ลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนปิดด้วยระบบการระเหยของน้ำ (Evaporative cooling system)
- ใช้หลักการของ Evaporative cooling system คือ มีช่องทางเข้าของลมผ่านแผงกระดาษที่มีน้ำหล่อและพัดลมดูดอากาศอยู่ที่ท้ายโรงเรือน
- ความร้อนในตัวโคจะถูกถ่ายเทเข้าสู่ลมเย็นที่วิ่งเข้าปะทะ ด้วยกระบวนการพาความร้อน
- ข้อเสีย คือ ต้องลงทุนสูงไม่คุ้มค่าสำหรับฟาร์มที่ให้ผลผลผลิตต่ำ หรือปานกลาง
- จัดการสภาพแวดล้อมเพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน
- การสร้างโรงเรือนให้หลังคายกสูง (~ 3 เมตร) และโปร่ง ถ่ายเทอากาศได้ดี
- การติดตั้งพัดลมภายในโรงเรือน
- การพ่นน้ำที่ตัวโค
- พ่นน้ำจากตำแหน่งที่หลังโคเป็นหยดน้ำ ทำให้ผิวหนังโคเปียกชุ่ม พ่นน้ำ 30-60 วินาที/ครั้ง
- หยดน้ำส่วนเกินจะพาความร้อนส่วนหนึ่งออกจากตัวโค โดยการเป่าพัดลมที่มีความเร็วลมจะทำให้เกิดการระเหยของน้ำที่ผิวหนังและดึงความร้อนส่วนเกินออกจากตัวโค
- ใช้เวลา 30-45 นาที/รอบ
- การจัดการ การให้อาหาร
- จัดการช่วงเวลาในการให้อาหาร ในช่วงอากาศเย็น เช่น เช้ามืดหรือเย็น แบ่งมื้อการให้อาหาร เป็นหลายมื้อต่อวัน
- เพิ่มความเข้มข้นของโภชนะในอาหาร เพื่อชดเชยปริมาณการกินได้ที่น้อยลง
- ให้อาหารหยาบคุณภาพดี
- การจัดการน้ำ
- ควรมีที่ให้น้ำที่เพียงพอต่อความต้องการของโค
- น้ำควรอยู่ในที่ร่ม เย็นและสะอาด