ผลิตภัณฑ์ & บริการ

ห้องปฏิบัติการบริการทดสอบด้านปศุสัตว์

ให้บริการเพื่อตรวจสอบติดตามสุขภาพของฝูงสัตว์ในฟาร์ม สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค สัตว์ต้องมาจากฝูงพ่อแม่ที่ปลอดโรค มีสุขภาพแข็งแรง เลี้ยงในฟาร์มที่มีสุขลักษณะที่ดี สะอาด ได้รับอาหารที่มีค่าโภชนะ ตามคำแนะนำของสายพันธุ์ ได้รับวัคซีนป้องกันโรค ตลอดจนมีการดูแลจัดการที่ถูกต้องจนถึงช่วงการจับ และขนส่ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามาตรการของฟาร์มถูกต้องและเหมาะสม

1. ห้องปฏิบัติการทดสอบทางทางไวรัส และซีโรโลยี บริการทดสอบเพื่อประเมินสุขภาพของฝูงสัตว์ ตรวจสภาวะความคุ้มโรค รวมถึงการตอบสนองของภูมิต้านทานหลังได้รับวัคซีน ในกรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ สามารถแยกเชื้อไวรัสได้ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงในไข่ฟัก และเซลล์เพาะเลี้ยง หรือการเพาะเลี้ยงอย่างรวดเร็วด้วยเทคนิค อณูพันธุชีววิทยา หรือ Molecular biotechnology เพื่อติดตามหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส ได้อย่างแม่นยำด้วยเครื่อง Real time PCR

2. ห้องปฏิบัติการทดสอบทางจุลชีววิทยา บริการทดสอบบมุ่งเน้นการควบคุมสุขลักษณะโรงเรือน ตามหลักมาตรฐานฟาร์ม และระบบความมั่นคงชีวภาพ (Bio-security System) ทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อน ในพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ โรงเรือน สิ่งแวดล้อม น้ำและอาหารสัตว์ มีการตรวจแยกเชื้อก่อโรคกรณีที่สัตว์ป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ สามารถนำเชื้อมาประเมินความไวต่อยา เพื่อเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสม และช่วยลดปัญหาเชื้อดื้อยา

3. ห้องปฏิบัติการทดสอบทางเคมี บริการวิเคราะห์ค่าโภชนะในอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์เลี้ยง การตรวจหายาสัตว์ตกค้าง สารพิษจากเชื้อรา สารเคมี และสารปนเปื้อนอื่นๆ เช่น สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสัตว์ อาหารสัตว์ หรือสารคัดหลั่งจากร่างกายสัตว์ และตรวจวิเคราะห์คุณลักษณะทางเคมีของน้ำทีใช้เลี้ยงสัตว์ และน้ำเสียตามระเบียบมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ด้วยวิธีทดสอบตามมาตรฐานกรมควบคุมมลพิษ

4. ห้องปฏิบัติการทดสอบทางพยาธิวิทยา บริการการผ่าซาก ชัณสูตรและวินิจฉัยหาสาเหตุการป่วยหรือตายของสัตว์ในฟาร์ม ห้องปฏิบัติการจะทำการย้อมชิ้นเนื้อหรืออวัยวะที่มีความผิดปกติ เพื่อศึกษาพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น และนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลหาสาเหตุ หาแนวทางแก้ไข จะช่วยลดความเสียหายของผู้ผลิตทั้งในรุ่นปัจจุบันและการเลี้ยงในรุ่นต่อไป

ห้องปฏิบัติการบริการทดสอบด้านอาหาร

ให้บริการทดสอบและตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพสินค้า วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ ด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ให้บริการ อย่างถูกต้อง แม่นยำ มีความน่าเชื่อถือในระยะเวลาที่รวดเร็ว ใช้รายงานผลในการรับรองผลิตภัณฑ์อาหาร วัตถุดิบ และเนื้อสัตว์เพื่อการส่งออก สร้างความมั่นใจว่ากระบวนการผลิตเป็นไปตามมาตรฐาน GHPs HACCP และมาตรฐานของผู้สั่งผลิต

1. ห้องปฏิบัติการทดสอบทางจุลชีววิทยา ให้บริการทดสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (Pathogens) ได้แก่ Listeria monocytogenes ,  Staphylococcus aureus, Salmonella spp., Escherichia coli  0157 , Vibrio spp., Shigella spp., Bacillus cereus, Clostridium perfringens , และ Yersinia enterocolitica เชื้อดัชนีคุณภาพอาหาร (Indicator microorganisms) ได้แก่ Coliform, E.coli, Enterobacteriaceae, Enterococcus faecalis , Yeast  และ mold ทั้งในวัตถุดิบ กระบวนการผลิต บริเวณพื้นที่การผลิต และผลิตภัณฑ์อาหาร ในโรงงานผลิต อาหารแปรรูป โรงงานอาหารสัตว์ รวมถึงน้าดื่มและน้าใช้ในสถานประกอบการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีจำนวนจุลินทรีย์อยู่ในช่วงที่กำหนด (Microbiological criteria) ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาใช้ในกระบวนการทดสอบ เช่น เครื่องเตรียมอาหารเลี้ยงเชื้ออัตโนมัติ และเครื่อง MALDI –TOF เพื่อการแยกคุณสมบัติทางชีวเคมีของเชื้อ อย่างรวดเร็ว

2. ห้องปฏิบัติการทดสอบทางเคมี บริการทดสอบความปลอดภัยด้านยาและยาฆ่าแมลงตกค้าง สารพิษจากเชื้อรา รวมทั้งสารปนเปื้อนอื่นๆ ด้วยเครื่อง LC-MS/MS LC-MS และ GC-MS การทดสอบโลหะหนักด้วย เครื่อง ICP-OES และ AAS การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการในอาหารและอาหารสัตว์เลี้ยง ด้วยเครื่องมือที่แสดงผลวิเคราะห์ อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เครื่อง Amino acid Analyzers สำหรับการวิเคราะห์หากรดอมิโนในอาหารและ อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่อง UHPLC สำหรับ การวิเคราะห์หาสารอาหาร ไวตามินต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของคนและสัตว์

 

ศูนย์บริการวิชาการ

บริการถ่ายทอดองค์ความรู้ สู่หน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างความเข้าใจในมาตรฐาน ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ ระบบคุณภาพโรงงานอาหารสัตว์ วิชาการเลี้ยงสัตว์ และผลิตสัตว์ ระบบคุณภาพการผลิตอาหาร เพื่อส่งเสริมการผลิต และการค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

1. บริการการจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Training Center) ดังนี้

• ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
• การจัดทำเอกสารระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
• การตรวจติดตามคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025
• กฎการตัดสินใจ (Decision rule) เพื่อรองรับ ISO/IEC 17025
• หลักเกณฑ์การปฎิบัติที่ดีของห้องปฎิบัติการ (Good Laboratory Practices, GLP)
• การอ่านและตีความใบรายงานผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด
• การสอบเทียบเครื่องมือวัด
• การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบทางเคมี และจุลชีววิทยา
• การประมาณค่าความไม่แน่นอนของการทดสอบทางเคมี และจุลชีววิทยา
• ฯลฯ

2. บริการเป็นที่ปรึกษาแนะนำการจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ (Consultant) โดยมีขั้นตอนดังนี้

• สำรวจความพร้อมของห้องปฏิบัติการและกำหนดขอบข่ายการให้คำปรึกษา
• ฝึกอบรมความรู้ความเข้าใจในข้อกำหนดระบบคุณภาพห้องปฎิบัติการ ISO/IEC 17025
• ให้คำแนะนำการจัดทำเอกสารในระบบคุณภาพห้องปฎิบัติการ (เช่น QM, QP, WI และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
• ติดตามความคืบหน้าเอกสารระบบคุณภาพและตรวจสอบเครื่องมือ
• ตรวจสอบ แก้ไขเอกสารระบบคุณภาพและแนะนำการควบคุมเอกสาร
• ฝึกอบรมการตรวจติดตามคุณภาพภายในและการทบทวนระบบคุณภาพ
• ตรวจติดตามคุณภาพภายในระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ
• ติดตามการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง
• ให้คำแนะนำในการยื่นขอการรับรองกับหน่วยงานตรวจประเมิน

3. บริการตรวจติดตามคุณภาพภายในระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ (Internal Audit) โดยมีขั้นตอนดังนี้
• ตรวจติดตามคุณภาพภายในระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ
• ติดตามการปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง

บริการจัดโปรแกรมทดสอบความชานาญของห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing Provider)

บริษัท ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร จำกัด เป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองความสามารถเป็น
ผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชา นาญของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 จากกรม
วิทยาศาสตร์บริการ

สาขาการทดสอบความชานาญที่เปิดให้บริการ

• ด้านการทดสอบทางจุลชีววิทยาในตัวอย่างผิวสัมผัส (Swab), น้ำ , อาหารและอาหารสัตว์

• ด้านการทดสอบทางเคมี ในตัวอย่างน้ำ , วัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์

ทดลองขยายการผลิตทางด้านการหมัก (Upscaling Fermentation Services)

• ประเมินและให้คำปรึกษาถึงความเป็นไปได้การทดลองขยายขนาดทางด้านการหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ในระดับหัองปฏิบัติการสู่ระดับโรงงานต้นแบบไปจนถึงระดับเชิงพาณิชย์

• ทดลองขยายขนาดทางด้านการหมักในระดับโรงงานต้นแบบทั้งกระบวนการ (ต้นน้ำและปลายน้ำ)

• เชื่อมโยงเครือข่ายโรงงานต้นแบบทางการหมักหรือโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ภายในประเทศไทยเพื่อนำไปต่อยอดในขั้นเชิงพาณิชย์ (OEM)