Articles
ทำอย่างไรเมื่อโคเจ็บกีบ?
Knowledge ความรู้ทั่วไปเราจะรู้ได้ว่าอาการใดที่บ่งบอกว่าโคมีอาการเจ็บกีบ ก็ต้องอาศัยการประเมินระดับการเคลื่อนไหวของโค หรือ การประเมิน “Locomotion score” โดยจะทำการประเมินในขณะที่โคยืนและเดินร่วมกัน โดย Locomotion score นั้นจะมีทั้งหมด 5 คะแนน ดังนี้
Score 1 : ยืนและเดินระนาบหลังตรง
Score 2 : ยืนระนาบหลังตรง หลังเริ่มโค้งเมื่อเดิน
Score 3 : สังเกตเห็นความโก้งโค้งของหลังได้ทั้งตอนยืนและเดิน
Score 4 : สังเกตเห็นความโก้งโค้งของหลังได้ทั้งตอนยืนและเดิน โคจะเริ่มก้าวสั้นลงละสังเกตเห็นขาที่เจ็บกะเผลกชัดเจน
Score 5 : สังเกตเห็นความโก้งโค้งของหลังได้ทั้งตอนยืนและเดิน โคแดงอาการขากะเผลกข้างที่เจ็บชัดเจนจนก้าวเดินลำบากหรือไม่อยากเดิน
ซึ่งการจัดการกลุ่มโคในแต่ละคะแนน Locomotion score นั้นจะแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น
- Score 1 (ควรพบ >75% ของโคในฟาร์ม) : โคมีการเดินที่ปกติ ควรเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้โคมีอาการเจ็บกีบหรือมีการพัฒนา Locomotion score ที่สูงขึ้น
- Score 2 (ควรพบ <15% ของโคในฟาร์ม) : โคเริ่มมีการก้าวเดินที่ผิดปกติไปเล็กน้อย ควรเฝ้าระวังและเริ่มแต่งกีบโค เพื่อไม่ให้โคมีอาการเจ็บกีบหรือมีการพัฒนา Locomotion score ที่สูงขึ้น
- Score 3 (ควรพบ < 9% ของโคในฟาร์ม) : โคแสดงอาการเจ็บกีบชัดเจน ควรได้รับการตัดแต่งกีบเพื่อรักษา และลดระดับ Locomotion score ให้กลับสู่กลุ่มโคปกติ
- Score 4,5 (รวมกันควรพบ < 1% ของโคในฟาร์ม) : โคแสดงอาการเจ็บกีบชัดเจนและค่อนข้างรุนแรง ควรได้รับการตัดแต่งกีบเพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โคมีโอกาสที่จะต้องได้รับการแต่งกีบรักษาซ้ำเพื่อลดระดับ Locomotion score
ผลกระทบของการเจ็บกีบ
- ลดการกินได้ของโค
- ลดปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้ต่อวัน
- ส่งผลต่อความเครียดและลดประสิทธิภาพระบบสืบพันธุ์โค
จะหาสาเหตุการเจ็บกีบได้อย่างไร
เมื่อโคแสดงอาการเจ็บกีบจนสังเกตและประเมินได้จาก “Locomotion score” แล้วนั้นควรได้รับการตัดแต่งกีบเพื่อประเมินรอยโรคและรักษารอยโรคที่พบ โดยสามารถจำแนกรอยโรคที่พบออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
- กลุ่มรอยโรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
- รอยโรคบริเวณผนังกีบ (Wall)
- รอยโรคบริเวณรอยต่อผนังกีบและพื้นกีบ (White line)
- รอยโรคบริเวณพื้นกีบ (Sole)
- รอยโรคบริเวณผนังกีบ (Wall)
- กลุ่มรอยโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ
- Interdigital Dermatitis : การอักเสบและติดเชื้อของผิวหนังบริเวณร่องกีบ โดยอาจมีสาเหตุโน้มนำมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่อาศัยออกซิเจนในการดำรงชีพ (Anaerobic bacteria เช่น Dichelobacter nodosus)
- Digital Dermatitis : การอักเสบของผิวหนังบริเวณส้นกีบจนเกิดเป็นแผลเปิด(Erosion) ร่วมกับการติดเชื้อ (เช่น Treponema spp., Fusobacterium spp., Campylobacter spp., Prevotella spp. เป็นต้น) และการอักเสบอาจมีการพัฒนาทำให้ผิวหนังหนาตัวขึ้นคล้ายหูด
- Foot rot : การอักเสบจากการที่ผิวหนังบริเวณส้นกีบดังถูกทำลายและมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย(เช่น Fusobacterium necrophorum, Porphyromonas levii เป็นต้น) จึงทำให้พบอาการบวมบริเวณทั้งส้นกีบ จนอาจลามไปจนถึงบริเวณนิ้วติ่ง (Dew claw)
- Interdigital Dermatitis : การอักเสบและติดเชื้อของผิวหนังบริเวณร่องกีบ โดยอาจมีสาเหตุโน้มนำมาจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่อาศัยออกซิเจนในการดำรงชีพ (Anaerobic bacteria เช่น Dichelobacter nodosus)
ปัจจัยเสี่ยงของการเจ็บกีบมีอะไรบ้าง
- การจัดการสภาพแวดล้อม
- โรงเรือนและสภาพพื้นคอก
- พื้นปูน/พื้นดิน
- ความลื่นของพื้นคอก
- ความสะอาดและความชื้นของพื้นคอก
- ลักษณะการเลี้ยง
- ยืนโรง/ปล่อยแปลง
- การออกแบบโรงรีดนม เช่น ความชันของพื้น
- ความเครียดต่างๆที่โคต้องเจอ เช่น Heat stress, ความเครียดในช่วงโคใกล้คลอด
- โรงเรือนและสภาพพื้นคอก
- การจัดการอาหาร
- สัดส่วนอาหารข้นต่ออาหารหยาบที่เหมาะสม เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะกระเพาะหมักเป็นกรด (Rumen acidosis)
- การเสริมแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายโคและสุขภาพกีบที่ดี เช่น สังกะสี (Zn), แมงกานีส (Mn), คอปเปอร์(Cu) เป็นต้น
- สัดส่วนอาหารข้นต่ออาหารหยาบที่เหมาะสม เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะกระเพาะหมักเป็นกรด (Rumen acidosis)
- การจัดการสุขภาพกีบ ทุกๆ 1 เดือน กีบโคจะมีการงอกยาวขึ้นประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ดังนั้นควรมีโปรแกรมการตัดแต่งกีบโคเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง โดยไม่ต้องรอให้พบโคที่แสดงอาการเจ็บกีบ เพื่อลดโอกาสและความสูญเสียของการเจ็บกีบของโคในฟาร์ม
ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวนี้มักเป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อการสึก การงอกยาวของกีบ รอยโรคและการติดเชื้อของกีบที่ควรได้รับการจัดการที่ดีและเหมาะสม เพื่อป้องกันอาการเจ็บกีบและทำให้โคมีสุขภาพกีบที่ดี
และเมื่อมีการพบโคเจ็บกีบภายในฟาร์ม ควรรีบแจ้งสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่มีความสามารถในการตัดแต่งกีบอย่างถูกวิธี เพื่อเข้ามาทำการแต่งกีบเพื่อตรวจวินิจฉัยรอยโรค ประเมินความรุนแรงและทำการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที เนื่องจากการรักษารอยโรคของกีบบางประเภทอาจจำเป็นจะต้องให้ยากลุ่มลดอักเสบและกลุ่มยาปฏิชีวนะร่วมกับการแต่งกีบ