Article &Technicle

การป้องกันการระบาดของโรคภายในฟาร์มไก่ นอกจากมีแผนการป้องกันโรคตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้ว การให้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มความต้านทานต่อโรคของไก่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีที่เชื้อก่อโรคสามารถผ่านเข้ามาในฟาร์มจนเข้าไปถึงตัวไก่ได้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น สุขภาพของไก่ สภาพแวดล้อมในช่วงที่ให้วัคซีน คุณภาพวัคซีน การขนส่งวัคซีน การเก็บรักษาวัคซีน และเทคนิคการให้วัคซีนของบุคลากร การตรวจสอบการได้รับวัคซีนมีความสำคัญ เนื่องจากช่วยลดปัญหาการให้วัคซีนล้มเหลวและใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้วัคซีนร่วมกับการติดตามระดับภูมิคุ้มกันหลังให้วัคซีน โดยบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีตรวจสอบการได้รับวัคซีนสำหรับวิธีให้วัคซีนที่ใช้บ่อยและสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้เองที่ฟาร์ม ได้แก่ การให้วัคซีนโดยวิธีหยอดตา หยอดจมูก หยอดปาก ละลายน้ำ ฉีดเข้าใต้หนังคอ ฉีดเข้ากล้ามเนื้ออก และแทงปีก การตรวจสอบการได้รับวัคซีนโดยวิธีหยอดตา หยอดจมูก หยอดปากและละลายน้ำ การให้วัคซีนโดยวิธีหยอดตา หยอดจมูก หยอดปากและละลายน้ำ ตรวจสอบโดยสังเก […]

การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงได้หนาแน่นและลงปลาได้หลายขนาดตามความเหมาะสม ซึ่งสะดวกในการดูแลจัดการต่างๆระหว่างการเลี้ยงได้ดี มีการลงทุนต่ำกว่าการเลี้ยงรูปแบบอื่นๆ แต่การเลี้ยงปลาในกระชังก็มีปัจจัยหลายอย่างซึ่งต้องมีความเข้าใจและเตรียมความพร้อมเพื่อให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังมีประสิทธิภาพสูงสุด แหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชัง แหล่งน้ำ ที่จะเลี้ยงปลาในกระชังได้นั้น สิ่งสําคัญ คือ น้ำต้องมีคุณภาพดีและมีเพียงพอ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลําคลอง หนอง บึง บ่อ ซึ่งมีข้อควรพิจารณาสําหรับการวางกระชัง ดังนี้ แหล่งน้ำ เมื่อกางกระชังออกแล้วพื้นก้นกระชังต้องอยู่สูงกว่าพื้นท้องน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร กระชังจะต้องอาศัยการถ่ายเทของกระแสน้ำหมุนเวียนผ่านกระชัง จึงควรอยู่ที่โล่งแจ้ง ไม่มีร่มไม้และพรรณไม้น้ำอยู่หนาแน่น ควรศึกษาประวัติของแหล่งน้ำในรอบปีก่อน เช่น กระแสน้ำ ความขุ่น ปริมาณน้ำ คุณสมบัติของน้ำต้องดีห่างไกลแหล่งน้ำเสีย สารพิษ เช่น จากโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งชุมชน แหล่งเกษตรกรรมที่มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชเป็นจํานวนมากที่จะเกิดอันตรายต่อปลาที่ […]

ในช่วงอากาศร้อนของบ้านเรานั้นนอกจากจะส่งผลให้สุกรขุนกินอาหารได้น้อยลงและเจริญเติบโตช้าแล้ว ในส่วนของสุกรพันธุ์อากาศร้อนยังทำให้คุณภาพน้ำเชื้อด้อยลง แม่สุกรเกิดความเครียดเนื่องจากอากาศร้อน ผสมไม่ติด กลับสัดได้ง่าย และทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของแม่พันธุ์ด้อยลงร่วมด้วย เล้าผสมเป็นจุดร่วมของการผลิตสุกรพันธุ์ โดยเป็นจุดที่มีการทำงานร่วมกันระหว่าง พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และคน ในยุคหลังจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) สงบลง การใช้พ่อพันธุ์เช็คสัดอาจถูกลดบทบาทลงไปบ้าง แต่ก็ยังมีหลายๆ ฟาร์มที่ยังมีการใช้พ่อพันธุ์ในการเช็คสัดอย่างสม่ำเสมอซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการผลิต การควบคุมและติดตามการทำงานในเล้าผสมอย่างสม่ำเสมอและแก้ไขข้อบกพร่องอย่างรวดเร็วจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มอยู่ในภาวะที่สามารถแข่งขันได้เสมอ อย่างที่กล่าวไปในตอนต้น เล้าผสมจะมีส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วนด้วยกัน คือ พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และคน ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดถึงจุดต่างๆ ที่เราต้องมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ เริ่มต้นกับส่วนแรก คือ พ่อพันธุ์ แม้ว่าจะเป็นส่วนที่น้อยที่สุด แต่ก็มีความสำคัญในการกำหนดการผสมติดจา […]

การเลี้ยงและการดูแลลูกสุกร ตั้งแต่หลงคลอดไปจนถึงหย่านม นับได้ว่า เป็นช่วงที่มีความยุ่งยาก มากกว่าช่วงอื่นๆ และเป็นช่วงที่เกิดการสูญเสียมากที่สุด ซึ่งอาจเกิดจากถูกแม่สุกรทับตาย ท้องเสียอย่างแรง อดอาหาร โลหิตจาง และเสียเลือดมากทางสายสะดือเมื่อคลอด อย่างไรก็ตามการสูญเสียลูกสุกรในช่วงนี้ส่วนใหญ่ เนื่องมาจากการจัดการดูแลไม่ดีมากกว่า สาเหตุอื่นๆ ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียลูกสุกรในช่วงนี้ผู้เลี้ยงควร เตรียมการดูแลจัดการ ดังนี้ ทำความสะอาดตัวลูกสุกร ควรเช็ดตัวลูกสุกรให้แห้งโดยเร็วทันทีที่คลอดออกมา เพื่อไม่ให้หัวของลูกสุกรเปียกชื้น เนื่องจากอุณหภูมิภายนอกและภายในท้องแม่สุกรต่างกันมาก การสูญเสียความร้อนของลูกสุกรจำเป็นต้องดึงพลังงานสะสม (ไกลโคเจน)ที่ตับมาใช้ การเช็ดตัวด้วยผ้าหรือการคลุกด้วยแป้งจะช่วยให้ตัวลูกสุกรแห้งเร็วขึ้น การให้ความอบอุ่นและป้องกันลมโกรก ลูกสุกรที่มีอายต่ำกว่า 3 วัน กลไกที่ควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายยังไม่ทำงาน จึงไม่สามารถปรับตัวให้ เข้ากับความผันแปรของอุณหภูมิภายนอกได้ ลูกสุกรแรกเกิดที่ถูกความเย็นมากๆ หรือเป็นเวลานานๆ อุณหภูมิของร่างกายจะลดลงเป็นผลให้ลูกสุกรตัวนั้นตายได้ ดังน […]

การทำงานเป็นทีมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น นอกจากทุกคนจะต้องมีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับหน้าที่ที่ได้รับแล้ว การสื่อสารภายในทีมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้การทำงานราบรื่นและประสบความสำเร็จได้ ซึ่งหัวหน้างานเป็นคนสำคัญที่จะช่วยดึงศักยภาพของทีมงานให้มาเชื่อมโยงเพื่อสร้างเป้าหมาย วางแผนกลยุทธ์ และทำงานให้สำเร็จร่วมกัน การเป็นหัวหน้างานที่ดีควรเรียนรู้วิธีการ Coach ลูกน้องประเภทต่างๆ ทำความเข้าใจสไตล์ของลูกน้องแต่ละคน เพื่อการบริหารและการมอบหมายงานให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน พร้อมทั้งกระตุ้นให้ลูกน้องเกิดการพัฒนาความสามารถ มองเห็นจุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง เพื่อให้งานสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น เรามารู้จักวิธีการสื่อสารกับลูกน้อง 4 ประเภท เพื่อให้การบริหารงานและบริหารคนเกิดประโยชน์สูงสุด โดยลูกน้อง 4 ประเภท ประกอบด้วย The Star/ Work Horse/ Problem Child/ Dead Wood The Star (ดาวเด่น) ลูกน้องประเภทนี้มีความตั้งใจและมีความสามารถสูง รู้ว่าตัวเองถนัดอะไร มีความชำนาญ สามารถทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว และใช้ระยะเวลาอันสั้นเพื่อให้งานเสร็จตามเป้าหมาย วิธีสื่อสารแล […]

เราจะรู้ได้ว่าอาการใดที่บ่งบอกว่าโคมีอาการเจ็บกีบ ก็ต้องอาศัยการประเมินระดับการเคลื่อนไหวของโค หรือ การประเมิน “Locomotion score” โดยจะทำการประเมินในขณะที่โคยืนและเดินร่วมกัน โดย Locomotion score นั้นจะมีทั้งหมด 5 คะแนน ดังนี้ Score 1 : ยืนและเดินระนาบหลังตรง Score 2 : ยืนระนาบหลังตรง หลังเริ่มโค้งเมื่อเดิน Score 3 : สังเกตเห็นความโก้งโค้งของหลังได้ทั้งตอนยืนและเดิน Score 4 : สังเกตเห็นความโก้งโค้งของหลังได้ทั้งตอนยืนและเดิน โคจะเริ่มก้าวสั้นลงละสังเกตเห็นขาที่เจ็บกะเผลกชัดเจน Score 5 : สังเกตเห็นความโก้งโค้งของหลังได้ทั้งตอนยืนและเดิน โคแดงอาการขากะเผลกข้างที่เจ็บชัดเจนจนก้าวเดินลำบากหรือไม่อยากเดิน ซึ่งการจัดการกลุ่มโคในแต่ละคะแนน Locomotion score นั้นจะแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น Score 1 (ควรพบ >75% ของโคในฟาร์ม) : โคมีการเดินที่ปกติ ควรเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้โคมีอาการเจ็บกีบหรือมีการพัฒนา Locomotion score ที่สูงขึ้น Score 2 (ควรพบ <15% ของโคในฟาร์ม) : โคเริ่มมีการก้าวเดินที่ผิดปกติไปเล็กน้อย ควรเฝ้าระวังและเริ่มแต่งกีบโค เพื่อไม่ให้โคมีอาการเจ็บกีบหรือมีการพัฒนา Locomotion score […]