Articles
All Agro knowledge you can learn and study
สิงหาคม 31, 2021
การจัดการฟาร์มปลาเมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าฝน
Knowledge ความรู้ทั่วไปในช่วงฤดูฝนของทุกปี ฝนตกน้ำแดง น้ำป่าไหลหลาก มักทำให้ปลากระชังและปลาในบ่อเลี้ยงเสียหาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากในฤดูฝน มีผลโดยตรงต่อคุณภาพน้ำหลายอย่าง ที่สำคัญปลาซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิในร่างกายปลา สามารถปรับตัวเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำได้ แต่การปรับตัวฉับพลันต้องใช้พลังงานสูง ทำให้ปลาเครียดจัด อ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคลดลง จึงติดเชื้อโรคได้ง่าย
สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากในฤดูฝน เช่น
- น้ำฝนทำให้ อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่างและความขุ่นของน้ำเปลี่ยนแปลง / ผลคือปลาเครียด ภูมิต้านทานโรคลดลง
- นํ้าในบ่อมีการแบ่งชั้นของอุณหภูมิ น้ำฝนทำให้อุณหภูมิผิวน้ำลดลง จึงหมุนแทนที่น้ำก้นบ่อที่อุณหภูมิสูงกว่า / ทำให้น้ำก้นบ่อที่ออกซิเจนต่ำ มีแก็ซพิษสูงกระจายไปทั่วบ่อ
- วันที่ฟ้าปิดยาวนาน กระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างออกซิเจนลดลง
- น้ำฝนที่ไหลชะล้างตะกอนหน้าดิน สารอินทรีย์ สารเคมี ทำให้คุณภาพแย่ลง
เชื้อโรคที่เกิดช่วงหน้าฝน มักเป็นเชื้อโรคที่ฉวยโอกาส ในขณะที่ปลาอ่อนแอ
- โรค Aeromonas / เกล็ดหลุด เกล็ดแดง เกล็ดตั้ง ตกเลือด แผลหลุม ครีบกร่อน ท้องบวม ตับม้ามไต ลำไส้อักเสบ มีน้ำเหลืองในช่องท้อง กินอาหารลด / ผสมยาปฏิชีวนะในอาหาร
- โรค Flavobacterium หรือ โรคตัวด่าง / พบช่วงรอยต่อฤดู อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อย / เนื้อเหงือกเน่า หายใจถี่ ว่ายผิวน้ำ คล้ายออกซิเจนไม่พอ ครีบกร่อน / ให้งดอาหาร งดถ่ายน้ำ / ด่างทับทิม, ฟอมาลิน, คอปเปอร์ซัลเฟต, BKC / ยาเอ็นโรฟรอกซาซิน
- โรคปรสิตภายนอก / เห็บระฆัง ปลิงใส เห็บปลา หมัดปลา / ว่ายน้ำแฉลบ ถูกับวัสดุ ว่ายไร้ทิศทาง เหงือกบวม-ซีด-แตก-เมือกมาก / ด่างทับทิม, ฟอมาลิน, คอปเปอร์ซัลเฟต, BKC ,ไตรคลอร์ฟอน / ยาถ่ายพยาธิ
เพื่อลดความเสียหายในช่วงฤดูฝน ต้องเตรียมการป้องกัน ดังนี้
- ควรเปิดเครื่องให้อากาศ / เพิ่มการไหลเวียนน้ำ / เพื่อสร้างออกซิเจนและลดการแบ่งชั้นของน้ำ
- ควรลดหรืองดอาหาร 1-2 วัน / ในวันที่ฝนตกหนัก ฟ้าครึ้มต่อเนื่อง / ออกซิเจนต่ำย่อยยาก
- ควรโรยปูนขาวที่คันบ่อ / น้ำตกตะกอนเร็ว ลดการเปลี่ยนแปลง pH จากน้ำฝน
- ควรสาดปูนขาว เวลากลางคืน / ตอนเช้ามืด 30-40 กก./ไร่ / เพิ่มอัลคาไลน์ ทำให้น้ำโปร่งแสง
- ควรใส่เกลือ 60-100 กก.ต่อไร่ / แขวนในกระชัง / ลดแอมโมเนีย ไนไตรท์ /ปรับสมดุลย์เกลือแร่
- ควรปล่อยปลาอัตราเหมาะสม / ตอนเช้า ฝนไม่ตก / ปรับสภาพน้ำ /ใช้ยาสลบปลา –สงบ-ไม่ดิ้น-ไม่ช้ำ-ไม่เครียด
- ควรเสริมไวตามินซี ในอาหาร / เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เสริมความแข็งแรง