Articles
ปัญหาพยาธิในเลือดโคแก้ได้ไม่ยาก
แนวทางป้องกันและควบคุมโรคโรคพยาธิในเลือดของโคนมเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มีสาเหตุจาก การติดเชื้อปรสิตหลายชนิด ได้แก่ อะนาพลาสมา (Anaplasma sp.), บาบีเซีย (Babesia sp.), ไทเลอเรีย (Theileria sp.) และทริฟพาโนโซม (Trypanosome sp.) เป็นต้น โดยพยาธิ 3 กลุ่มแรกมีเป้าหมายอยู่ที่ เม็ดเลือดแดงของโค พยาธิในเลือดจะอาศัยอยู่ในน้ำเลือดหรือในเม็ดเลือดแดง และมีการเพิ่มจำนวนขึ้นโดยอาศัย องค์ประกอบต่างๆที่มีอยู่ในส่วนประกอบของน้ำเลือด มีผลทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตก หลังจากที่สัตว์ได้รับเชื้อ สำหรับทริฟพาโนโซมอยู่ใน พลาสมาของเลือด พยาธิในเลือดมีพาหะที่สำคัญได้แก่ เห็บโค (boophilus microplus) และแมลงดูดเลือด เช่น เหลือบ (tabanids) สามารถถ่ายทอดเชื้อจากโคที่มีเชื้อไปสู่โคตัวอื่นๆในฝูงได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในด้านผลผลิตและระบบสืบพันธุ์ของโคนม ในด้านผลผลิตโคนม ที่เป็นโรคพยาธิในเลือดจะมีสุขภาพทรุดโทรม น้ำหนักตัวลด และผลผลิตน้ำนมลดลง ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียรายได้จากผลผลิตน้ำนมที่ลดลงและไม่สามารถส่งขายน้ำนมได้ เนื่องจากมีการปนเปื้อน ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษา และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจสูญเสียแม่โคจากการเป็น โรคพยาธิในเลือดได้
โรคอะนาพลาสโมซิส (Anaplasmosis)
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจากเชื้ออะนาพลาสมามีสองชนิดได้แก่ A. marginale และ A. centrale ทำให้เกิดโรค Bovine Anaplasmosis มีโฮสต์ตามธรรมชาติคือ โค แต่กระบือก็อาจติดต่อได้ เช่นเดียวกันแต่จะไม่แสดงอาการ มีเห็บเป็นตัวนำโรคตามธรรมชาติ โดยเมื่อเห็บดูดเลือดโคที่มีเชื้ออะนาพลาสมาเข้าไปก็จะมีการเจริญในลำไส้ของเห็บ และในที่สุดก็จะไปเจริญในต่อมน้ำลายของเห็บ เมื่อเห็บดูด เลือดโคก็จะปล่อยเชื้อให้โคตัวอื่นๆต่อไป
อาการของโรค
ลูกโคที่เกิดจากแม่ที่มีภูมิหรือไม่มีภูมิของโรคก็ตาม จะมีภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะต่อโรคนี้จนถึงอายุ 6 เดือน โคที่อายุ 9-12 เดือน เมื่อได้รับเชื้อจะแสดงอาการอย่างอ่อน โคที่อายุ 1-2 ปี จะแสดงอาการรุนแรงแต่ มักไม่ตาย โคที่อายุเกิน 3 ปี มักจะแสดงอาการรุนแรงและตายได้ง่าย นอกจากนี้มีรายงานว่ามักเกิดความ รุนแรงมากกับโคนมพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือโคลูกผสมสายเลือดสูง อาการที่แสดงออกแบบเฉียบพลันได้แก่ ไข้สูง เลือดจางอย่างรุนแรง ในโคนมน้ำนมจะลดอย่างเห็นได้ชัด ผิวหนังและเยื่อเมือกชุ่มจะซีด มักมีอาการดีซ่านร่วมด้วย เบื่ออาหาร หายใจลำบาก เดินโซเซ ปัสสาวะสีปกติ อาจมีท้องผูก ต่อมน้้าเหลืองขยายใหญ่ สัตว์ที่ตั้งท้องอาจแท้งลูกได้ สัตว์ป่วยจะตาย ภายใน 1-4 วัน หรืออาจป่วยเป็นเวลานาน หรืออาจหายจากโรคนี้ได้ แต่ต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์
การรักษา
ยาที่ใช้ได้ผลดี ได้แก่ Tetracycline ชนิดที่ฉีดเข้าหลอดเลือดจะได้ผลดีกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขนาดที่ให้ 10 มก./กก 1-2 ครั้ง มีผลในการระงับอาการได้ แต่ถ้าจะให้ปรสิตหายไปจากเลือดอาจต้องเพิ่มขนาดเป็น สองเท่า และ ต้องให้ 3-4 ครั้ง การใช้ oxytetracycline ชนิด long acting ในขนาด 20 มก/กก ได้ผลดี เช่นเดียวกัน
โรคบาบีซิโอซิส (Babesiosis)
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจากเชื้อบาบีเซียพบอยู่ในเม็ดเลือดแดงของโคที่เป็นโรคเชื้อที่สำคัญในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ บาบีเซีย บัยเจมมินา (Babesia bigrmina) ,บาบีเซีย โบวิส (Babesia bovis) โดยปกติจะพบเชื้อในเม็ดเลือดได้น้อย ถึงแม้จะมีไข้สูงแต่จะพบได้มากเมื่อโคใกล้ตายหรือ ตายแล้ว นอกจากนี้ยังพบเชื้อในอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น ไต หัวใจ และสมอง เชื้อนี้มีเห็บชื่อบูโอฟิลัส ไบโครพลัส (Boophilus microplus) ซึ่งเป็นเห็บโคชนิดที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยเป็นตัวนำโรค โดยเห็บที่มีเชื้อไปดูด เลือดแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ตัวโค ทำให้ตัวนั้นป่วยและตายในที่สุด
อาการของโรค
พบความรุนแรงในโคสายพันธุ์ต่างประเทศมากกว่าโคพื้นเมืองเช่นเดียวกับโรคอะนาพลาสมา เมื่อโค ได้รับเชื้อบาบีเซียเข้าไปจะมีไข้สูงกว่า 41 องศาเซลเซียส ไม่กินอาหาร กระเพาะหมักไม่ทำงาน หายใจหอบเร็ว หัวใจเต้นแรง ในรายที่เป็นเฉียบพลันซึ่งพบมากในการติดเชื้อบาบีเซีย โบวิส โคมักจะตายภายใน 2-3 วัน ภายหลังแสดงอาการ ถ้าโคไม่ตายเม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดโลหิตจาง สังเกต ได้จากเยื่อเมือกที่ปากและตาซีด หายใจหอบ น้้าปัสสาวะมีสีเข้มมากขึ้นจนบางครั้งเกือบดำและมีดีซ่าน ในโคที่กำลังให้นมน้ำนมจะลดน้อยลงจนเห็นได้ชัด ในสัตว์ที่ท้องอาจแท้งได้ อัตราการตายจะสูงในอากาศร้อน สำหรับโคที่เป็นจากเชื้อบาบีเซีย โบวิส อัตราการตายจะสูงกว่าบาบีเซีย บัยเจมมินาและสัตว์อาจแสดงอาการของระบบประสาทส่วนกลางให้เห็นได้ด้วย เช่น เดินโซเซ ชัก คอแหงนบิด หรือบ้าคลั่ง ไล่ชนคนหรือโคที่อยู่ใกล้
การรักษา
เพื่อให้การรักษาได้ผลดี จะต้องเจาะเลือดมาตรวจหาเชื้ออย่างรวดเร็ว และต้องให้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงในทันที ยาที่ดีเมื่อให้แล้วสัตว์จะแสดงอาการดีขึ้นภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังจากได้รับยาและเชื้อจะหายไปจาก กระแสโลหิตภายใน 24 ชั่วโมง ยาที่ให้ผลดีในการรักษาโรคบาบีซีโอซิส ได้แก่ Diminazine aceturate ขนาดที่ให้ 3.5 มิลลิกรัม/น้้าหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, Imidocarb dipropionate ขนาดของยาที่ใช้ 1.2 มิลลิกรัม/น้้าหนักตัว 1 กิโลหรัม (ขนาด 1 ซีซี./น้้า หนักสัตว์ 100 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การให้ยานี้ต้องระมัดระวัง ถ้าใช้เกินขนาด สัตว์จะ มีอาการกล้ามเนื้อสั่น น้้าลายไหล ท้องอืด โคที่ใช้ยานี้ไม่ควรส่งเข้าโรงงานฆ่าสัตว์ภายใน 28 วัน) ขณะให้การรักษาโรคบาบีซิโอซิส ควรให้ยาบำรุงด้วย เพราะสัตว์ป่วยมักจะมีอาการโลหิตจาง อ่อนเพลียและบางครั้งมีอาการทางประสาทร่วมด้วย
โรคไทเลอริโอซิส (Theileriosis)
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจากเชื้อ Theileria parva , T. annulata พบได้ทั้งในเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว ระยะที่อาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดงนั้นมีขนาดเล็กมาก ตัวนำโรค คือ เห็บแข็งบูโอฟิลัส ไมโครพลัส (Boophilus microplus) เท่านั้น
อาการของโรค
สัตว์ที่ป่วยจะแสดงอาการไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ โลหิตจางหรือเม็ดเลือดขาวต่ำ น้ำนมลดได้
การรักษา
ยาที่ใช้รักษาและได้ผลดี คือ Oxytetracycline ชนิดฉีด ให้ขนาด 10 มก./กก. นาน 10 วัน ต้องให้ใน ระยะแรกของการติดเชื้อจึงจะได้ผลดี
โรคทริปปาโนโซมิเอซิส (Trypanosomiasis)
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจากเชื้อ Trypanosoma evansi อาศัยอยู่ในเลือด น้ำเหลือง หรือน้ำไขสันหลัง ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ส่วนมากจะมีแมลงดูดเลือดเป็นตัวนำโรค
อาการของโรค
ในโค มักมีความไวต่อการเกิดโรคน้อย หรือเป็นตัวอมโรค มักไม่ค่อยแสดง อาการ หรือป่วยเรื้อรัง อาการที่แสดงให้เห็นคือ ทรุดโทรม โลหิตจาง อุณหภูมิร่างกายอาจสูงกว่าปกติ เล็กน้อย มีขี้ตาเป็นหนองขาวๆ อาจมีน้ำมูกข้นๆ ในบางตัวอาจพบอาการบวมน้ำ บางรายแท้งลูก หรือมีระยะอุ้มท้องที่สั้นกว่าปกติหรือมีปัญหาในการคลอดยาก และในโคที่กำลังให้นม น้้านมจะลดลงอย่างเฉียบพลัน และมีไข้สูง
การรักษา
ให้ผลดีเมื่อรักษาด้วย Diminazene aceturate ขนาดที่ใช้ตามปกติ คือ 3.5 มก/กก ฉีดเข้า กล้ามเนื้อลึก
โรคพยาธิใบไม้ในตับ (Fasciolosis)
สาเหตุและการติดต่อ
มักพบพยาธิใบไม้ตับที่เป็นปัญหาหลัก คือ Fasiola Hepatica, Fasiola Gigantica ซึ่งตัวเต็มวัยจะอาศัยในท่อน้ำดีและตับ ทำให้ท่อน้ำดีอุดตัน ผสมพันธุ์และออกไข่ปนกับอุจจาระ โดยเป็นโรคจากสัตว์สู่คน
อาการของโรค
- แบบเฉียบพลัน พยาธิตัวแก่จะไชตับ เกิดแผลและเลือดออก มักพบโคถ่ายเป็นเลือด ในโคอายุน้อย
- แบบเรื้อรัง มักพบในโคที่โตแล้ว มักซูบผอม โลหิตจาง เยื่อเมือกซีด ผิวหยาบ บวมน้ำบริเวณใต้คาง
การรักษา
- ใช้ยาควบคุมปรสิตภายนอก เช่น คีล่าเมคติน (Kelamectin ) ซึ่งเป็นไอเวอเมคติน หรือ ไอเวอ เทค พลัส (Iver Tec Plus) ในระยะแห้งนม (ก่อนคลอดอย่างน้อย 8 สัปดาห์)คือ 1 มล./ 50 กก. น้ำหนักตัว (ใต้ผิวหนัง)
การป้องกัน
ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม –พฤศจิกายนของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่มีแมลงดูดเลือดโดยเฉพาะ ตัวเหลือบ (Tabanus sp.) ชุกชุม ความเครียดต่างๆ เช่น ระยะท้ายของการตั้งท้องถึงระยะคลอดใหม่ประมาณ 2 เดือนหลังคลอด (Transitional period) การเปลี่ยนแปลงฤดูกาล การขนส่งหรือการเปลี่ยนสถานที่เลี้ยง เป็นต้น จะทำให้เชื้อมีการเพิ่มจำนวนจนทำให้สัตว์ แสดงอาการป่วยได้ หลีกเลี่ยงการนำโคจากต่างพื้นที่เข้ามาในฟาร์ม หรือหากจำเป็นควร เจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อพยาธิในเลือดก่อนนำเข้าฟาร์ม และมีการกักสัตว์ก่อนนำเข้าร่วมฝูงทุกครั้งอย่างน้อย 14 วัน ส่วนในด้านการป้องกันสัตว์พาหะและแมลงดูดเลือด ควรมีโปรแกรมการกำจัดเห็บ ได้แก่ เรสสิเจน (Resigen)
ภาพเห็บ (Boophilus microplus)