Articles
การบริหารจัดการฟาร์มหมู
Knowledge ความรู้ทั่วไปกิจการฟาร์มหมูนั้นมีการแข่งขันในตลาดอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่รับประทานเนื้อหมูกันอย่างมาก ดังนั้นการจะมีฟาร์มหมูที่ดีมีคุณภาพสามารถส่งออกได้โดยไม่ต้องกลัวธุรกิจรายใหญ่ ซึ่งการจะมีฟาร์มหมูได้นั้นไม่ใช่เพียงว่ามีเพียงทุนทรัพย์ หรือพื้นที่ แต่จะต้องมี การบริหารจัดการฟาร์มหมู ที่ดีเข้ามาเกี่ยวด้วย เพื่อให้ธุรกิจฟาร์มหมูประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
ก่อนที่จะทำอะไรสักอย่างต้องมีความคิดริเริ่ม มีการวางแผนวัตถุประสงค์ในการจัดทำว่าต้องการจัดทำไปเพื่อสิ่งใด หากได้วัตถุประสงค์ที่แน่ชัดแล้วต่อมาจึงกำหนดเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะให้ธุรกิจของคุณไปในทิศทางไหนภายกี่ปี หรือกี่เดือน เพราะฉะนั้นการคิดริเริ่มนั้นไม่ได้มีแค่อยากจะทำแล้วสิ่งนั้นเลย จะต้องมีการศึกษาหาข้อมูล และวางแผนให้ดีก่อนจึงสามารถเริ่มทำได้
การบริหารจัดการฟาร์มหมู
การบริหารจัดการฟาร์มหมู จะต้องมีการวางแผนมาแล้วว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ฟาร์มหมูนั้นมีมาตรฐาน และปลอดภัย เพื่อความไว้วางใจของลูกค้า รงมถึงคนเลี้ยงภายในฟาร์มด้วย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. การวางแผนป้องกันโรคระบาด
เพื่อให้ฟาร์มมีความน่าเชื่อถือในเรื่องของความปลอดภัย และถูกสุขอนามัย ฟาร์มจะต้องมีการฉัดวัคซีนให้แก่หมูทุกตัวเพื่อเพิ่มภูมิในการป้องกันเชื้อโรค และจะต้องทำการฉีดพ่นย่าฆ่าเชื้อคอกหมู และจะต้องหมั่นทำความสะอาดคอกหมู่ รวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆที่ใช้ในการเลี้ยงหมูในฟาร์มจะต้องทำการตรวจเช็ค ทำความสะอาด เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีสิ่งปนเปื้อน
อีกหนึ่งเรื่อที่ต้องคำนึงถึงคือการ แบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนโดยการที่ไม่ให้คนนอกเข้ามาในฟาร์มเลี้ยง และไม่ให้คนในฟาร์มออกข้างนอกฟาร์ม สิ่งนี้เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากที่หนึ่งสู่ที่หนึ่งได้ดีที่สุด แต่จะมีลานขายหมูไว้ให้เพื่อไม่ให้ปะปนกับเชื้อโรค
2. การอบรม
การอบรมเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่าพนักงานที่มอบหมายหน้าที่ให้นั้นจะสามารถดูแลหมูในฟาร์มได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี แม้ว่าจะมีคนที่พอทราบวิธีการเลี้ยงอยู่แล้ว แต่ก็ควรที่จะเข้าฝึกอบรมเพื่อทำการทบทวนความรู้ และรับความรู้ข่าวสารใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งการอบรมนั้นอาจจะจัดเป็น 6 เดือนครั้ง หรือเป็นรายปี เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงหมูได้มากขึ้น
3. การแบ่งการทำงานของผู้เลี้ยงในฟาร์ม
เนื่องจากพนักงานทุกคนในฟาร์มได้รับการอบรมในการเลี้ยงหมูในฟาร์มแล้ว ต่อมาก็จะต้องมีการแบ่งหน้าที่ แบ่งฝ่ายความรับผิดชอบ เพื่อกระจายพนักงานให้สามารถดูแลหมูในฟาร์มได้อย่างทั่วถึง โดยสามารถแบ่งตามความถนัดของแต่ละคน หรือตามที่มอบหมายให้ โดยส่วนใหญ่แล้วในแต่ละส่วนจะต้องมีคนดูแลจำนวนจะละ 2 คนขึ้นไป เพื่อให้การดูแลที่ทั่วถึง ซึ่งในส่วนนี้จะต้องมีสวัสดิการต่าง ๆให้แก่ผู้ดูแลในฟาร์มเลี้ยงหมูด้วย
4. การดูแลเรื่องอาหาร
ในเรื่องของอาหารที่จะต้องให้หมูในฟาร์มจะต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก นอกจากหมูจะต้องได้รับอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการต่อวันแล้ว ก็ต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างการ โดยทางฟาร์มจะต้องทำความเข้าใจ และลอกสูตรอาหารให้เหมาะกับหมูในแต่ละวัย ไม่ว่าจะหมูแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์ และลูกหมูที่จะต้องมีการคำนวณอาหารที่ได้รับต่อวันให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาหารที่หมูส่วนใหญที่ใช้กันจะเป็นอาหารสำเร็จรูปอย่างเช่นของ บริษัท เบทาโกร จำกัด ( มหาชน ) หรือจะใช้รำข้าวแบบละเอียดผสมกับ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หรือมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และสามารถลดต้นทุน ลดพลาสติกที่มาจากถุงอาหารสำเร็จรูปได้อีกด้วย
5. การตลาด
ทางด้านการตลาดในธุรกิจฟาร์มหมูนั้นมีอัตราแนวโน้มที่จะขยายเพิ่มขึ้นเนื่องจากประชาชนมีความต้องการในการบริโภคหมูเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดคู่แข่งในการตลาดมายิ่งขึ้น ทางฟาร์มจะต้องมีการวางแผนการตลาดให้ดีเพื่อไม่ให้ธุรกิจอยู่ต่ำสุด เช่นมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเลี้ยงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรค และยังสามารถเป็นภาพลักษณะที่ดีและทันสมัยให้แก่ฟาร์ม
นอกจากจะมองการตลาดที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันแล้วจะต้องทำการขยายตลาดไปยังภูมิภาคอื่นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ และสามารถเพิ่มเครือข่ายทางการได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถทำประชาสัมพันธ์ให้แก่ฟาร์มเพื่อเพิ่มความเป็นที่รู้จักให้แก่คนที่สนใจได้เป็นอย่างดีอีก
6. การแปรรูป
นอกจากจะทำฟาร์มหมูแล้ว สามารถทำผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ทำมาจากหมูในฟาร์มได้ เพื่อเพิ่มรายได้ขยายช่องทางการตลาดให้แก่ธุรกิจ ซึ่งการแปรรูปจากหมูในฟาร์มนั้นจะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ สะอาด ปลอดภัย นอกจากการแปรรูปที่จะต้องทำให้อร่อย น่ารับประทานก็จะต้องมีบรรจุภภัณฑ์ที่ดึงดูดแก่ผู้บริโภคให้มาสนใจในตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้น
และนี่คือกลยุทธ์ใน การบริหารจัดการฟาร์มหมู ที่นำมาบอกกกล่าวต่อทุกท่านที่สนใจ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ไม่ยากเกินไปสามารนำไปประยุกต์ใช้ในแบบของทุกคนได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการป้องกันโรคที่จะต้องใส่ใจดูแลเป็นอย่างดี การอบรมพนักงานในฟาร์มที่ต้องมีความรู้มากพอที่จะสามารถดูแลหมูในฟาร์มได้อย่างทั่วถึง นอกเหนือจากสิ่งที่ยกตัวอย่างมาในการบริหารจัดการฟาร์มหมูอาจต้องมีการคิดวิเคราะห์ในเรื่องของอุปสรรคที่ต้องเจอหากต้องการรับมือ จะสามารถแก้ไขปัญหาไปในรูปแบบใดได้บ้าง สิ่งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละคนได้เลย