Article &Technicle
การจัดการฟาร์มโคนมให้ได้ผลผลิตสูงสุดจำเป็นต้องอาศัยหลายปัจจัยที่ต้องทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านระบบสืบพันธุ์ การจัดการอาหาร การดูแลสุขภาพโค การดูแลสุขภาพกีบ รวมถึงการจัดการด้านเศรษฐศาสตร์ของฟาร์ม บทความนี้จะเน้นไปที่ปัจจัยสำคัญเบื้องต้นที่ทุกฟาร์มควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ได้แก่ การจัดการระบบสืบพันธุ์และการจัดการอาหาร ทำไมการกินถึงสอดคล้องกับระบบสืบพันธุ์? การจัดการอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ของโค อาหารที่โคกินเข้าไปจะถูกแปลงเป็นพลังงานและนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของโค เช่น สำหรับการดำรงชีวิต กิจกรรมในแต่ละวัน และการสร้างน้ำนม ระบบสืบพันธุ์จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้โคกลับสัดหลังคลอดได้ช้าลงและไม่พร้อมผสมพันธุ์ในเวลาที่เหมาะสม ทำไมโคถึงต้องการพลังงานสูงในช่วงหลังคลอดและช่วงให้นมระยะต้น? 1. การกินได้หลังคลอดต่ำ : หลังคลอดแม่โคมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ฮอร์โมน และเริ่มการผลิตน้ำนม แต่การกินอาหารของแม่โคจะลดลงในช่วงแรก โดยหลังคลอดจะกินได้เพียง 60% ของช่วงเดือนที่ 3 2. การให้นมระยะแร […]
โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิด O, A, และ Asia 1 ซึ่งการแพร่เชื้อสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อสัตว์อยู่ใกล้ชิดกันหรือใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ร่วมกัน โรคนี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำนมและเนื้อสัตว์ เพราะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตของสัตว์ลดลง และอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โรคปากและเท้าเปื่อยสามารถเกิดขึ้นกับสัตว์กีบคู่ทุกชนิด ได้แก่ วัว ควาย แพะ แกะ และหมู เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสัตว์เหล่านี้ การติดเชื้อทำให้เกิดแผลพุพองและการอักเสบที่บริเวณปากและเท้า ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์มีอาการเจ็บปวดและกินอาหารได้น้อยลง วิธีสังเกตอาการของวัวที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อย สามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสุขภาพของสัตว์ ได้แก่ น้ำลายไหล : สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีน้ำลายไหลออกมามากผิดปกติ เนื่องจากมีแผลในช่องปาก ทำให้สัตว์มีอาการเจ็บและไม่สามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติ แผลพุพองที่ลิ้น เหงือก และเพดานปาก : เชื้อไวรัสทำให้เกิดแผลที่บริเวณต่างๆ ในช่องปาก ซึ่งทำให้สัตว์มีอาการเจ็บปวด กินอาหารน้อยลง : เนื่องจากความเจ็บปวดจ […]
การจัดการฟาร์มสุกรในปัจจุบันไม่ได้หยุดเพียงแค่การดูแลสัตว์ให้เติบโตอย่างแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้าง การลดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากมูลสุกรจึงเป็นความท้าทายสำคัญที่ฟาร์มสุกรทั่วประเทศต้องเผชิญ และฟาร์มมั่นซื่อตรงดี จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าความร่วมมือกับเบทาโกรในการแก้ไขปัญหานี้สามารถสร้างผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจได้อย่างแท้จริง คุณจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี เจ้าของฟาร์มมั่นซื่อตรงดี กล่าวถึงความสำเร็จในการลดกลิ่นในฟาร์มว่า “ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ทำให้เราภูมิใจ การลดกลิ่นในฟาร์มไม่เพียงแต่ช่วยให้ฟาร์มของเรามีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนใกล้เคียงว่า ฟาร์มของเราดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อเปรียบเทียบกับฟาร์มอื่น ๆ เรารู้ทันทีว่าอาหารที่เราใช้นั้นเป็นผลิตภัณฑ์จากเบทาโกรอย่างแน่นอน เพราะแม้แต่ในเวลาที่ถ่ายทำอยู่ตอนนี้ เราก็ไม่ได้กลิ่นของมูลสุกรเลยครับ” ความท้าทายในการจัดการฟาร์มสุกร การจัดการฟาร์มสุกรไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฟาร์มสุกรต้องปฏิบัติตามมาตร […]
โรงเรือนเลี้ยงไก่มีจุดประสงค์ใช้เพื่อเป็นแหล่งที่พักอาศัย ป้องกันไก่จากสัตว์นักล่า สัตว์พาหะ กันแสงแดดและฝน ควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงไก่ (สำหรับโรงเรือนระบบปิดหรือโรงเรือนอีแวป) ดังนั้นการเตรียมโรงเรือนให้เหมาะสมมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงไก่ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนหลักสำหรับการเตรียมโรงเรือน คือ การทำความสะอาด (Cleaning) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) จุดประสงค์เพื่อให้ช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำของโรคต่างๆในฟาร์มได้ เช่น โรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease) โรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา(Mycoplasma) โรคไวรัสต่างๆ และโรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) ขั้นตอนการเตรียมโรงเรือนมี 6 ขั้นตอนสำคัญดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมโรงเรือน (House preparation) เป็นขั้นตอนแรกหลังจากปลดไก่ตัวสุดท้ายออกจากโรงเรือน เริ่มด้วยการกำจัดสารอินทรีย์วัตถุต่างๆ เช่น สิ่งปูรอง มูลไก่ ซากไก่ตาย เป็นต้น การถอดอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น หลอดไฟ อุปกรณ์บรรจุอาหารและอุปกรณ์ให้น้ำเพื่อนำไปล้างทำความสะอาดด้วยสารลดแรงตึงผิว(Surfactants) เช่น Nexgen MP 1000 ช่วยขจ […]
ในบทความนี้จะเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในฟาร์มลูกค้าแห่งหนึ่งในปี 2566 เพื่อเป็นกรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาในฟาร์มลูกค้า โดยจะนำเสนอตั้งแต่การสืบค้นและวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา รายละเอียดขั้นตอนการแก้ไขและป้องกัน (total solution) และผลการแก้ไข ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับท่านใช้เป็นแนวทางในการจัดการปัญหาที่มีลักษณะคล้ายกันในโอกาสต่อไป อ่านเนื้อหาสรุป แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤต แม่สุกรป่วยก่อนคลอด แบบ Total Solution ได้ที่ https://bit.ly/3UdqAs0 ประวัติของฝูงและประสิทธิภาพการผลิต ฟาร์มสุกรแม่พันธุ์แห่งนี้เป็นโรงเรือนแบบปิด (โรงเรือนอี-แว็ป) ผลิตลูกสุกรหย่านมเพื่อจำหน่าย และบางส่วนนำไปเลี้ยงเองที่ฟาร์มสุกรอนุบาลที่อยู่คนละพื้นที่กัน ใช้น้ำบาดาลที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนเป็นน้ำกินสำหรับสุกร ฟาร์มมีประสิทธิภาพการผลิตในหลายปีที่ผ่านมาค่อนข้างดี โดยมีอัตราคลอดประมาณ 90.0-92.0 เปอร์เซนต์ ลูกมีชีวิตเฉลี่ย 12.8-13.0 ตัวต่อครอก ลูกหย่านมเฉลี่ย 12.2-12.5 ตัวต่อครอก อัตราการตายก่อนหย่านม 4-5 เปอร์เซนต์ และลูกหย่านมต่อแม่ต่อปีประมาณ 28-30 ตัว ปัญหาที่เกิดขึ้นในฟาร์มและการจัดการของฟาร์ม เมื่อว […]
ปัญหาแม่สุกรอุ้มท้องป่วยก่อนคลอด ส่งผลกระทบต่อแม่และลูกสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่สุกรที่ป่วยจะกินอาหารน้อยลง ในขณะที่แม่สุกรต้องการสารอาหารจำนวนมากในการเพิ่มจำนวนเซลล์ผลิตน้ำนม เพื่อเตรียมสำหรับการสร้างนมน้ำเหลืองที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อโรคสำหรับลูกสุกรแรกคลอด สิ่งที่ผู้เลี้ยงสุกรจะสังเกตเห็นได้คือ แม่สุกรรอคลอดบางตัวป่วย นอนซึม ไม่อยากลุกขึ้นกินอาหาร เต้านมแม่สุกรไม่ขยายขนาดเท่าที่ควร มีขนาดเล็กไม่เต่งตึง หรือที่เรียกกันว่า นมไม่ลงเต้า ฟาร์มจะพบปัญหาแม่สุกรใช้เวลาคลอดนานกว่าปกติ ส่งผลให้ลูกสุกรแรกคลอดอ่อนแอและตายแรกคลอดเพิ่มมากขึ้น ลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองไม่เพียงพอ ลูกอ่อนแอ ถ่ายเหลว และท้องเสียตามมา และหากมีการปนเปื้อนเชื้อในเล้าคลอดหรือในน้ำกินที่ทำให้ลูกสุกรแรกคลอดท้องเสีย เช่น อี.โคไล (colibacillosis) และคลอสทริเดียม (clostridial enteritis) จะทำให้สถานการณ์การถ่ายเหลว และท้องเสีย ของลูกสุกรรุนแรงมากขึ้น และอัตราการตายก่อนหย่านมเพิ่มมากขึ้นด้วย ในบทความนี้จะเล่าถึงรายละเอียดขั้นตอนการแก้ไขและป้องกัน แบบ Total Solution ที่อาจเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการจัดการปัญหานี้ แนวทา […]